สุนัข เฟรนช์ บูลด็อก

เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขเนื้อแน่น มีความตื่นตัวอยู่เสมอแต่ไม่ใช่เพื่อการกีฬา จัดเป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ขนปกคลุมตัวน้อย จมูกสั้น และกระดูก …

ประวัติสายพันธุ์

French bulldog (เฟรนช์ บูลด็อก) เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ต้นกำเนิดมาจากการผสมพันธุ์ของ English bulldog กับ Boston Terriers โดยการตั้งชื่อพันธุ์คำว่า French หมายถึงประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นแหล่งกำเนิดของเฟรนช์ บูลด็อกแต่เนื่องจากคนในสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ มักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อกทำให้ในต่อมาถูกนิมยมเรียกสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อกเป็น Frenchie (เฟรนช์ชี่) และมีชื่อเล่น คือ Clown dogs เพราะมีความขี้เล่นคล้ายตัวตลก หรือ Frog dogs เพราะตอนนั่งขาหลังของสุนัขจะกางออก

ลักษณะทางกายภาพ

เฟรนช์ บูลด็อก เป็นสุนัขเนื้อแน่น มีความตื่นตัวอยู่เสมอแต่ไม่ใช่เพื่อการกีฬา จัดเป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ขนปกคลุมตัวน้อย จมูกสั้น และกระดูกหนา ซึ่งลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือการมีหูแบบค้างคาว เพราะหูของเฟรนช์ บูลด็อกจะมีฐานหูกว้าง และใบหูใหญ่ หางสั้น พบลักษณะตรงหรือบิดเป็นเกลียว แต่จะไม่พบลักษณะหางงอ
ภายใต้สมาคม The American Kennel Club (AKC) และ Canadian Kennel Club Standard ได้มีการระบุเกี่ยวกับน้ำหนักของ เฟรนช์ บูลด็อกนี้จะหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หรือ 13 กิโลกรัม โดยส่วนมากเฟรนช์ บูลด็อกจะมีน้ำหนักอยู่ช่วง 22-30 ปอนด์ หรือ 10-13 กิโลกรัม แต่องค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) หรือ World Canine Organization ไม่ได้จำกัดน้ำหนักที่ห้ามเกินไว้ โดยได้กำหนดไว้ว่า เฟรนช์ บูลด็อกต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 8 กิโลกรัม และห้ามเกิน 14 กิโลกรัม จะอยู่ในช่วงที่สุนัขมีลักษณะสมส่วน

สีและลักษณะการเรียงสีขน สามารถพบได้หลากหลายสี ประกอบด้วย สีครีม (Cream), สีลายเสือ (Brindle), สีดำ (Black), สีขาว (White), สีแดง (Red), สีน้ำตาลแกมเหลือง (Fawn), และสีฟ้า (Blue) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้ออกกฎพื้นฐานของสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อกคือห้ามเพาะสีพันธุ์ที่พบได้ยาก เช่น สีน้ำตาล (Brown), สีดำ-น้ำตาล (Black and tan), และสี mouse grey หรือสีฟ้า (Blue)

ลักษณะนิสัย

เฟรนช์ บูลด็อกเป็นสุนัขที่มีความอ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว มีความเรียบร้อย โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีแต่โชคดีตลอดไป ซึ่งลักษณะนิสัยเหมือนกับสุนัขพันธุ์อื่นทั่วไป คือต้องการความดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดกับเจ้าของ เป็นสุนัขที่ไม่ต้องออกกำลังกายมาก แต่จำเป็นต้องพาสุนัขเดินอย่างน้อยวันละครั้ง เป็นสุนัขที่ใจเย็น เห่าน้อย เหมาะกับผู้พักอาศัยอพาร์ทเม้นท์ที่ต้องการเลี้ยงสุนัข จะเห่าก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ตื่นเต้น เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะหน้าสั้น มักมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ จึงไม่สามารถเลี้ยงภายนอกอาคารได้ จึงจำเป็นต้องให้สุนัขอยู่ในที่ร่ม หรือห้องแอร์ โดยควรระมัดระวังเมื่อสุนัขออกกำลังกายในที่อากาศร้อน หรืออากาศชื้น เมื่อเวลาที่สุนัขเล่นกับเด็ก ควรดูแลอย่างใกล้ชิดขณะเด็กเล่นกับสุนัข ซึ่งไม่ควรเลี้ยงเฟรนช์ บูลด็อก ถ้ามีเด็กอยู่ภายในบ้าน แม้จะถูกจัดเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก แต่เป็นสุนัขที่มีน้ำหนักมาก และแข็งแรง อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้

เฟรนช์ บูลด็อกในบางครั้งอาจจะแสดงความก้าวร้าวออกมาได้ ซึ่งสามารถพบได้เมื่อเจอเพศเดียวกัน โดยถ้าเจ้าของนำเฟรนช์ บูลด็อก อีกตัวเข้ามาในบ้าน ควรเลือกเพศให้ตรงข้ามกัน ซึ่งการทำหมันเฟรนช์ บูลด็อก สามารถลดความก้าวร้าวของสุนัขได้ เพราะจะทำให้การตื่นตัว และความกระตือรือร้นของสุนัขลดลงได้ โดยต้องทำก่อนที่เฟรนช์ บูลด็อกเพศเดียวกัน 2 ตัวจะมาเจอกัน

โรคประจำพันธุ์

เฟรนช์ บูลด็อกเป็นสุนัขที่สุขภาพดีที่สุดในสายพันธุ์บูลด็อก โรคกรรมพันธุ์ของเฟรนช์ บูลด็อกที่สามารถพบได้บ่อย แบ่งตามโรคระบบสำคัญได้ดังนี้

  • โรคระบบประสาท
    • โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral disc disease : IVDD) เป็นโรคที่พบในสุนัขพันธุ์เตี้ยแคระ เช่น พันธุ์บูลด็อก สามารถพบได้บ่อยในสุนัขที่เป็นกระดูกอ่อนเจริญผิดปกติ (Chondrodysplasia)
  • โรคระบบทางเดินอาหาร
    • ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ (Megaesophagus) จากภาวะนี้อาจทำให้เกิดการสำลักเอาอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ (Aspiration pneumonia)
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
    • กลุ่มอาการทางเดินหายใจของสุนัขหน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดในสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อก เนื่องจากมีเพดานอ่อนของปากยาว หรือเพดานปากโหว่ (Cleft palate) โดยพบตั้งแต่ลูกสุนัขคลอดออกมา
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) จากภาวะนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ สุนัขเลียเท้าตัวเองไม่หยุด (Obsessive foot licking), และเกิดถุงน้ำขึ้นบริเวณระหว่างนิ้ว (Interdigital cysts)
  • โรคระบบเลือดและภูมิคุ้มกัน
    • โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand’s disease (vWD)) ทำให้เลือดหยุดยาก
  • โรคตา
    • โรคต้อกระจกในวัยเด็ก (Juvenile cataracts)
    • โรคจอประสาทตาเจริญผิดปกติ (Retinal dysplasia)
    • โรคเชอร์รี่อาย (Cherry eye) หรือหนังตาที่สามจากด้านในออกมาข้างนอก (Everted third eyelid) – แผลที่กระจกตา (Corneal ulcers)
    • โรคต้อหิน (Glaucoma)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *