เจ้าหมี อลาสกัน มาลามิวท์

เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงน่ารัก คงหนีไม่พ้นเจ้าอลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) สายพันธุ์ของสุนัขที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับสุนัขพันธุ์ ไซบีเรียน ฮัสกี้ ราวกับฝาแฝดทำให้หลายคนเกิดความสับสน จำสลับกันบ่อยครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วถิ่นกำเนิดของสุนัขทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก

เพราะเป็นสุนัขที่มาจากอลาสก้าเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่สุนัขสายพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์นั้นสืบเชื้อสายมาจากสุนัขของชนเผ่ามาลามิว ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของ Norton Sound ในแถบฝั่งตะวันเฉียงเหนือของอลาสก้านั่นเองที่มาของชื่อ อลาสกัน มาลามิวท์ มาจากคำว่า “มาลา” ซึ่งเป็นชื่อชื่อหนึ่งของชนเผ่าเอสกิโม ส่วน “มิวท์” ในภาษาชนเผ่า หมายถึง หมู่บ้าน

เมื่อนำมารวมกันแล้วก็จะมีความหมายว่าหมู่บ้านของชนเผ่าชาวเอสกิโมที่อยู่ในอลาสกาและแน่นอนว่าการถูกเลี้ยงดูและพัฒนามาในเขตพื้นที่ที่ปกคลุมไปด้วยอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีทำให้สุนัขพันธุ์อลาสกัน มาลามิวท์ นั้นสามารถใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพอากาศติดลบได้เป็นอย่างดี และยังถูกนำมาใช้เป็นสัตว์ลากเลื่อน เช่นเดียวกันกับเจ้าไซบีเรียน ฮัสกี้อีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของอลาสกัน มาลามิวท์

อลาสกัน มาลามิวท์ มีลักษณะภายนอกที่ดูเผินๆ แล้ว ใกล้เคียงกับไซบีเรียน ฮัสกี้ โดยถือเป็นสุนัขที่มีความแข็งแรง อดทนต่อทุกสภาพอากาศได้ดี มีพละกำลังมาก เหมาะสำหรับนำไปเลี้ยงเป็นสัตว์ลากจูง หรือแข่งขันเรื่องความเร็ว

ใบหน้าของอลาสกัน มาลามิวท์มีลักษณะคล้ายกับหมาป่า มีขนหนาสองชั้น ชั้นนอกจะมีชั้นขนที่หนาและพองตัว ส่วนชั้นในจะเป็นเส้นเล็กๆ ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม จึงสามารถปกป้องผิวหนังจากความหนาวเย็นของสภาพอากาศได้ดี

ลักษณะนิสัยของอลาสกัน มาลามิวท์

แม้ลักษณะภายนอกของอลาสกัน มาลามิวท์ จะดูดุร้ายเหมือนหมาป่าแต่แท้จริงแล้ว สุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขน่ารักที่มีความเป็นมิตรต่อมนุษย์ เพราะมีนิสัยร่าเริง ขี้เล่น สามารถนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านได้นอกจากนี้จุดเด่นของอลาสกัน มาลามิวท์ ก็คือ เรื่องของมารยาทเนื่องด้วยเป็นสุนัขที่ได้ใกล้ชิดกับครอบครัวของมนุษย์มาเป็นระยะเวลานาน ทำให้อลาสกัน มาลามิวท์จัดว่าเป็นสุนัขที่มีมารยาทดี และเรียบร้อยเวลาอยู่กับผู้เลี้ยงทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูด้วยว่าจะฝึกฝนมากแค่ไหนด้วย เพราะหากขาดการฝึกฝนที่ดีก็จะทำให้อลาสกัน มาลามิวท์เติบโตมาเป็นสุนัขที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว และหงุดหงิดได้ง่ายเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *