ดัชชุน (Dachshund)

ดัชชุน หรือน้องหมาพันธุ์เตี้ยฉายาไส้กรอก เป็นหมาขนสั้นสัญชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากการเป็นสุนัขล่าเนื้อ มีความว่องไว ปราดเปรียว สามารถไล่ล่าสัตว์ที่แอบอยู่ในโพรง อย่างกระต่ายหรือกระรอกได้ โดยภายหลังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดที่เล็กลง และเหมาะแก่การเลี้ยงในบ้าน โดยน้อง ๆ พันธุ์นี้มักรักเจ้าของ ขี้เล่น และมีระเบียบสุด ๆ

ลักษณะทั่วไป
-ลำตัวยาว ขาสั้น
-ผิวหย่อนคล้อย
-กล้ามเนื้อขาแข็งแรง วิ่งไวมาก
-ดมกลิ่นเก่งสุด ๆ
-ขนสั้นติดลำตัว

นิสัยและไลฟ์สไตล์
-รักอิสระ
-รักเจ้าของ ขี้อ้อนและอ่อนโยน
-บ้าพลัง ชอบวิ่งเล่น และขุดคุ้ย
-อาจดื้อบ้างในบางครั้ง
-เพศเมียฉลาดกว่าแต่ฝึกยาก ในขณะที่เพศผู้รักเจ้าของแต่ซนสุด ๆ

ลักษณะทางกายภาพ
-น้ำหนัก : ดัชชุนมีสองขนาด คือ ไซส์มาตรฐานน้ำหนัก 7 – 15 กิโลกรัม และไซส์เล็กน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม
-ความสูง : 20 – 23 เซนติเมตร
-สายพันธุ์ : Hound Dogs
-ขน : มีหลายประเภท มีทั้งขนเรียบสั้น, ขนยาว, ขนหยาบ
-สีขน : มีหลายสี ดำ, น้ำตาล, เทาแกมเหลือง, เบจ, น้ำเงิน, ช็อคโกแลต และสีแดง บางตัวจะมีลายจุดปนด้วย
-ลักษณะเด่น : ขาสั้น ลำตัวยาว หูพับลง
-ช่วงชีวิต : มีอายุประมาณ 12 -15 ปี

วิธีการเลี้ยงและดูแลดัชชุน
ดัชชุนเป็นหมาที่แข็งแรง และมีพลังงานสูง น้องชอบการออกกำลังกายโดยเฉพาะถ้าน้องได้ออกไปเดินเล่นข้างนอก และได้เล่นกับเพื่อนสุนัขตัวอื่นๆ นอกจากนี้น้องยังเหมาะกับคนที่อยู่ในอาพาร์ทเมนท์ห้องเล็กๆ ตราบใดที่น้องได้ออกไปวิ่งเล่น ทำกิจกรรมข้างนอกทุกวัน
ดัชชุนเป็นหมาที่ฉลาดและเรียนรู้ไว เพราะฉะนั้นเรื่องการฝึกน้องไม่ใช่เรื่องยาก แต่ผู้เลี้ยงต้องมีความอดทน และใจเย็นเพราะน้องดื้อมาก เราสามารถกระตุ้นให้น้องอยากเรียนรู้และสนุกสนานกับการฝึกด้วยการให้รางวัลเป็นอาหารหรือของเล่นต่างๆ และที่สำคัญไม่ควรฝึกเป็นเวลานาน และหากิจกรรมในการฝึกในรูปแบบใหม่เสมอ

สุขภาพของดัชชุน โรคที่อาจเกิดกับน้องดัชชุนมีดังนี้
1.Progressive retinal atrophy (PRA): โรคจอประสาทตาเสื่อมในสุนัข 2.Epilepsy: โรคลมชัก 3.Intervertebral Disc Disease (IVDD): โรคหมอนกระดูกทับไขสันหลัง 4.Gastric dilatation-volvulus (GDV) : โรคกระเพาะบิด 5.Cushings Disease : โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง 6.โรคเบาหวาน 7.โรคหูหนวก

อาหารที่เหมาะสม : เนื่องจากสุนัขพันธุ์นี้ต้องออกกำลังกายฝึกสัญชาตญาณนักล่าอยู่ตลอดเวลา ทำให้พวกเขามักเสียพลังงานไปกับการวิ่งเล่น จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อย่างไรก็ตาม เจ้าของควรใส่ใจ และสังเกตุกิจกรรมของสุนัขพันธุ์นี้ให้ดีเพื่อที่จะนำมาคำนวณปริมาณอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำหนักเกิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *