นกซีบร้าฟินซ์ (Finch Zebra)

สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ซีบร้าฟินซ์

ซีบร้าฟินซ์มีขนาดเล็ก แต่ไม่ใช่นกฟินช์ที่มีขนาดเล็กเล็กที่สุด ชื่อซีบร้าฟินซ์ มาจากลายทางม้าลายที่พาดผ่านคอ อก โดยเฉพาะจากหางจะมีสีขาวดำ ตัวผู้สีมีสีเทาและมีสีดำที่ตา มีสีแดงสดที่แก้ม และจะงอยปากสีแดงสดเมื่อโตเต็มที่ตัวเมียจะมีสีจะงอยปากที่อ่อนกว่า คือสีส้มอ่อน

อาหารของนกเจ็ดสี ส่วนใหญ่จะเป็นเมล็ดพืชขนาดเล็กมีหลายชนิด เช่น มิลเล็ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่างแดง – ดำ เป็นต้น อาหารที่ชอบมากของฟินช์เจ็ดสีก็คือ มิลเล็ตสเปรย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อยาว ผู้เลี้ยงควรนำไปแขวนไว้ภายในกรง เพื่อให้นกได้แทะกินอยู่เสมอ อัตราส่วนของอาหารที่จะผสมให้กับนกกินควรประกอบไปด้วย มิลเล็ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่างแดง ดำ ไนเจอร์(ให้โปรตีน) ผสมในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 : 1 : 0.50

ซีบร้าฟินซ์เป็นนกฟินซ์ที่สวยงามอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะโครงสร้างของร่างกายจะคล้ายฟินซ์เจ็ดสี ต่างกันตรงที่สีของนก โดยสีดั้งเดิมของนกจะเป็นสีน้ำตาลเทา หน้าอกลายเหมือนม้าลาย (เป็นที่มาของชื่อ) แก้มมีสีสัน ปากมีสีส้มถึงแดง ร้องเพราะ กินน้อย ไม่สกปรกเลอะเทอะ ขยันออกไข่ฟักไข่ เลี้ยงลูกเก่ง ใช้ได้ทั้งปี (ในบ้านเรา) สามารถพัฒนา สีสันไปได้มากมาย พื้นฐานของนกถิ่นกำเนิดอยู่ที่ออสเตรเลียเช่นกัน ห้ามนำออกเหมือนกัน เพราะการดูแลของซีบร้าฟินซ์ดูจะง่ายกว่าฟินซ์เจ็ดสีหน่อย จึงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และมีสีสันสวยงามมากขึ้นใช้เวลาสั้นกว่า ดังนั้นซีบร้าฟินซ์จึงอยู๋ในกลุ่ม Grass Finches ซึ่งก็มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Taeniopygia guttata castanotis พฤติกรรมของนกชนิดนี้ชอบอยู่ด้วยกันเป็นฝูง ดังนั้นเวลาเราเพาะพันธุ์ได้ลูกนกแล้วส่วนใหญ่จะนำมาเลี้ยงรวมกันในกรงใหญ่ (Avisries)


จากนั้นเมื่อนกแข็งแรงเข้าวัยหนุ่มแล้วค่อยนำไปเลี้ยงในกรงเพาะที่มีขนาดตั้งแต่กรงหมอนใหญ่ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว อย่าลืมติดตั้งรังไข่ (กล่องไม้อัด) ซึ่งมีขายสำเร็จรูป หรือที่นกชนิดนี้ชอบจะเป็นตะกร้ารังไข่หวาย อาหารที่เลี้ยงเป็นหลักก็มี มิลเล็ตขาว มิลเล็ตแดง ข้าวไรน์ อาหารไข่ เกลือแร่ ที่ขาดเสียมิได้คืออาหารสดโดยใช้ข้าวโพดสดดีที่สุด และวิตามินแอคควาชอค นกซีบร้าฟินซ์จะเริ่มผสมพันธุ์เลือกคู่และเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีได้อายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี หลังจากจับคู่แล้วนกจะเริ่มวางไข่ เมื่อนกคุ้นเคยกับสถานที่ของตัวเองประมาณ 2-3 เดือน ก็จะไข่ ไข่ประมาณครอกละ 3-7 ฟอง ถ้ามากเกินไปโอกาสที่นกจะฟักได้ลูกทั้งหมดก็ค่อนข้างน้อย ให้คัดไข่ฝ่อและมีปัญหาออกประมาณให้เหลือรังไข่ 3-4 ฟอง กำลังดี หลังจากไข่แล้วนกตัวเมียจะกกไข่และลูกนกเริ่มออกมาเมื่อประมาณวันที่ 11 จากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันเลี้ยงลูก ข้อควรระวังจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง นกชนิดนี้โดยเฉพาะตัวพ่อจะชอบไล่ตีลูก เมื่อลูกลงรังมาแล้ว (เทคนิคให้แยกตัวพ่อออกไปก่อนไว้ลูกโตกินเองได้แล้วให้แยกลูกออก แล้วค่อยนำพ่อกลับเข้ามาในกรงเพาะต่อ)


สายพันธุ์สีของซีบร้าฟินซ์ สีธรรมดาจะแตกต่างกันมากระหว่างนกที่เพาะพันธุ์ได้กับนกที่อยู่ที่ถิ่นกำเนิดโดยเฉพาะเรื่องสีตามทฤษฎีนั้น ขณะนี้สามารถแปรผันไปได้ประมาณ 59 สี ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการทำ Mutation ของนกสีธรรมดา ตามหลัก Monohybird Crossing สีที่เพาะพันธุ์ได้ขณะนี้มีด้วยกันอยู่มากมาย ซึ่งแยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
-สีธรรมดา(Normal) เป็นสีที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด
-สีเทาปนเหลือง (Fawn) เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเมลานินมาจากนกธรรมดาเป็นเสีเทา
-นกพายด์ (pied) เป็นการทำงานของยีนแบบมัลติฟังค์ชั่น มีสีบนตัวตั้งแต่ 2 สี ซึ่งพัฒนามาจากนกธรรมดาเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *