ปลาปักเป้าเขียว (Green spotted puffer)

วิธีเลี้ยงปลาปักเป้าจุดเขียว(ปลาฟิชโช่)

เนื่องจากติดตาม Instagram เกี่ยวกับคนที่เลี้ยงปลาเหมือนกันไปสะดุดตากับ ปลาปักเป้าจุดเขียว จึงศึกษาเกี่ยวกับการอยู่ การกิน เเละ นิสัย

ปลาปักเป้าจุดดำ หรือ ปลาปักเป้าเขียวจุด (อังกฤษ: Green spotted puffer) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetraodon nigroviridris ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีรูปร่างกลมป้อม หัวท้ายเรียว ปากเล็ก ตาโต ด้านหลังและด้านท้องมีผิวสากเป็นหนามเล็กละเอียด ด้านท้องนิ่มขยายตัวได้มาก ครีบหลังเล็กเช่นเดียวกับครีบก้น พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองสด ท้องสีขาว มีจุดกลมสีดำกระจายอยู่ทั่วตัว

มีขนาดความยาวเต็มที่ 17 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่น้ำกร่อยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบมากบริเวณป่าชายเลน นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวไดทั้งในน้ำเค็ม, น้ำกร่อยและน้ำจืด

มักนิยมถูกจับมาเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในแวดวงปลาสวยงามว่า “ฟิชโช่” นับเป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่งที่มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาปักเป้าชนิดอื่น ๆ แต่ก็ไม่ควรที่จะเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น

พอดีมีตู้ปลาว่างอยู่เลยคิดว่าน่าจะเป็นที่อยู่ของปลาปักเป้าได้ดี  เลยไปซื้อปลาปักเป้าที่จตุจักรมา 4 ตัว

เป็นตัวเล็กเเละยังโตไม่เต็มที่ ถึงแม้ว่าปลาปักเป้าส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามตลาดนั้นจะอยู่ในน้ำจืดหรือนิยมเลี้ยงในน้ำจืดก็ตามเพื่อจะให้ปลาสุขภาพดีควรเป็นน้ำกร่อยดีกว่า (น้ำจืดที่ผสมเกลือในปริมาณพอดีไม่เค็มไม่จืดเกินไป)

การกินของปลาปักเป้า ส่วนใหญ่จะไม่กินอาหารเม็ด (ถ้าจะเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดก็คงจะยากหน่อย)

เพราะปลาปักเป้ามีฟันหน้าที่เเข็งแรงมากจึงเหมาะกับการเเทะเเละกัดชิ้นเนิ้อ ดังนั้นอาหารของปลาปักเป้ามักจะเป็น หอยที่มีเปลือก,หอยทาก,กุ้ง ซึ่งเวลาที่ปลาปักเป้ากินนั้นจะดูค่อนข้างแปลกตามากกว่าปลาชนิดอื่นๆ

เนื่องจากปลาปักเป้าเป็นสัตว์น้ำที่กินเนื้อเป็นอาหารจึงจำเป็นต้องดูเเลรักษาน้ำให้มีคุณภาพที่ดีอยู่เสมอ

จะต้องมีเครื่องกรองน้ำดูดสิ่งสกปรกออกไปเเละควรมีออกซิเจน ปลาปักเป้าอาจมีสีซีดถ้าอยู่ในมุมอับเเละมีแสงเข้าไม่ถึง

ควรมีพื้นที่ในตู้ที่มากพอสำหรับจำนวนปลาปักเป้าที่เลี้ยง เพราะว่าที่แคบอาจจะทำให้ปลาเครียดได้

ปลาปักเป้าทั้ง4ตัวที่เลี้ยงมาลักษณะนิสัย(ความคิดเห็นส่วนตัว)

  • มักจะชอบกระโดดเวลาเห็นเราเข้ามาใกล้ เพราะยังไม่ค่อยชิน(ตอนซื้อมาใหม่) ดังนั้นอย่าใส่น้ำสูงมากนักหรือหาฝาที่สามารถให้อากาศเข้าได้ปิดเอาไว้ ไม่งั้นปลาปักเป้าอาจจะกระโดดออกมาตายนอกตู้
  • ควรหาสิ่งของที่ช่วยให้ปลาปักเป้าเข้าไปหลบอยู่เงียบๆ 
  • เวลาหิวปลาปักเป้าจะไม่ค่อยว่ายน้ำมักจะอยู่นิ่งๆ 
  • เวลากินปลาปักเป้ากินจะชอบกัดเเละสะบัดชิ้นเนื้อ เเละก็ว่ายไปรอบๆอาหาร
  • เวลาเปลี่ยนน้ำเเละเอาตัวปลาปักเป้าออกมา ปลาปักเป้าจะพองตัวเเละมีเสียง ‘ฟุ๊ดๆ’ แต่เมื่อวางไว้ในที่ที่มีน้ำเหมือนเดิมจะปล่อยลมออกมา

ปลาปักเป้าชนิดนี้ไม่มีพิษนะคะและก็ไม่กัดด้วยตัวนิ่ม แต่เมื่อพองลมจะรู้สึกสากๆ ใต้ท้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *