Axolotls ปลาตีนเม็กซิโก หรือ หมาน้ำ

ปลาตีนเม็กซิโก – ซาลาแมนเดอร์ “Axolotl” – แอกโซลอเติล ปลาตีนเม็กซิโก หรือคนไทยอาจจะคุ้นเคยว่ามันคือซาลาแมนเดอร์ เพราะมันเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Salamander)

ปลาตีนเม็กซิโก

พวกมันมีถิ่นกำเนิดและอาศัยอยู่ในแถบทะเลสาบโซชิมิลโก (Xochimilco) ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโก จึงเรียกกันติดปากว่า ปลาตีนเม็กซิโก

ปลาตีนเม็กซิโก

ด้วยรูปร่างหน้าตาที่แปลกประหลาด และมีสีสัน จึงกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมของหลายๆประเทศไปแล้วตอนนี้ เช่น ที่จีน หรือแม้แต่ที่ญี่ปุ่น

ปลาตีนเม็กซิโก

จุดเด่น

จุดเด่นของมันคือพู่เหงือกสีแดงสดซึ่งเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจซึ่งติดตัวมาตั้งแต่ฟักออกจากไข่ โดยที่ไม่หายไปเหมือนกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกอื่น สามารถเลี้ยงในตู้ปลาและอยู่ในน้ำเหมือนปลาเลย

ปลาตีนเม็กซิโก

วิธีการดูแล

แอกโซลอเติล มีระบบขับถ่ายเหมือนปลา เลยต้องเปลี่ยนน้ำเสมอเพื่อความสะอาด เช้าๆมาบางทีเจอก้อนสีดำกองที่พื้นตู้ปลา..อ๋อ…สมบัติล้ำค่าของพี่แก ให้เราไว้ดูต่างหน้า ฮ่าๆ

ปลาตีนเม็กซิโก

สิ่งมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของแอกโซลอเติล คือ เมื่ออวัยวะไม่ว่าส่วนใดของร่างกายเสียหาย มันจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายนอกหรืออวัยวะสำคัญภายในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด สุดยอดไหมล่ะ

ปลาตีนเม็กซิโก

ขนาดลำตัว/อายุ

แอกโซลอเติล มีความยาวเต็มที่ได้ราว 30 ซม. และมีอายุได้ถึง 15 ปีเลยนะ แม้จะอยู่ในกลุ่มซาลาแมนเดอร์ แต่ก็น่ารักมาก เวลาว่ายน้ำจะใช้ขาหน้ากวักน้ำแหวกไปมาและใช้ขาถีบส่ง ใช้หางช่วยนิดหน่อย และเมื่อไปสุดเขต ชนกระจกตู้ปลาจะใช้สองขาหน้ายันแล้วกลับตัว ฮ่าๆ

ปลาตีนเม็กซิโก

ลักษณะนิสัย

มันเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างฉลาด ชอบมองมาทางคน บางทีเห็นเราส่องมาจากด้านบน ก็พยายามโผล่พ้นน้ำมาตลอดโดยใช้สองขาหน้าตีน้ำเอาไว้ น่าเอ็นดูจริงๆ

ปลาตีนเม็กซิโก

แม้ที่ประเทศอื่นมันจะเป็นสัตว์ยอดนิยม แต่ต้นกำเนิดที่เม็กซิโกนั้น ในปี 2014 พบว่าเหลือเพียง 35 ตัวต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตรเท่านั้น

ปลาตีนเม็กซิโก

เหตุผลของการลดลงจนเกือบจะสูญพันธุ์เนื่องจากมนุษย์ได้ขยายถิ่นฐานบุกรุกที่อยู่ของพวกมันอีกทั้งยังกลายเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่

ปลาตีนเม็กซิโก

สำหรับคนไทย จะเรียกมันว่า หมาน้ำ ความน่ารักอีกอย่างของมันคือ หน้าตาจิ้มลิ้มแบบนี้ไปจนโต ตาดำกลมๆ มือ ศอก เท้าเล็กๆ ว่ายน้ำไปมาทั้งวัน (มันมีหน้าหลายแบบด้วยนะ แล้วแต่สายพันธุ์)

ปลาตีนเม็กซิโก

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาว่า ยีนส์ตัวไหนบ้างของ Axolotl คือปัจจัยที่ทำให้มันมีความสามารถ ในการฟื้นตัวเหนือสัตว์อื่น ๆ หางขาดก็งอกใหม่ได้ ขาขาดก็งอกขาได้ แม้แต่สร้างหัวใจขึ้นใหม่

ปลาตีนเม็กซิโก

แต่มียีนส์หลายตัวและซับซ้อนมากมาย ที่นักวิทยาศาสตร์ยังต้องค้นคว้าต่อไปอีกเยอะ

ปลาตีนเม็กซิโก

เพราะ แอกโซลอเติล อยู่ในน้ำดังนั้นแม้จะมีปอดที่พัฒนาแล้วมันก็ไม่ได้ใช้ปอดเพื่อหายใจ แต่ได้รับออกซิเจนจากน้ำผ่านเหงือกและผิวหนัง

ปลาตีนเม็กซิโก

จริงๆ แอกโซลอเติลมีฟันและกรามที่แข็งแรง เพราะปกติที่มันอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น ก็จับสัตว์ตัวเล็กๆกินเป็นอาหาร เช่น หอย ปลาขนาดเล็ก ตัวอ่อนต่างๆและแมลง

ปลาตีนเม็กซิโก

อาหาร

พูดถึงเรื่องให้อาหาร ก็จะมีอาหารประเภท หนอนเลือด – bloodworms ที่มีเป็นห่อสำเร็จรูปตามร้านขายของ Homepro แผนกสัตว์เลี้ยง ใช้แหนบยาว คีบป้อนใส่ปากเลยจ้า และหมั่นเปลี่ยนน้ำ 1-2 วันครั้ง และขัดตู้ด้านในด้วย เพราะน้ำจะเริ่มขุ่นจากการขับถ่าย

ปลาตีนเม็กซิโก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *