p9z4xh42vbMvmP02I8g-o

เรื่องน่ารู้ ปูเสฉวนบก

09/11/2023

ปูเสฉวนบก (Land hermit crabs) มารู้จักปูเสฉวนบก           ปูเสฉวนบก อยู่ในสกุล Coenobita (มาจากคำในภาษาละตินว่า COENOBIVM และคำในภาษากรีกโบราณว่า κοινόβιον แปลว่า “ชีวิตในประชาคม, อาราม”) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปูและกุ้ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีขาทั้งหมด 10 ขาเช่นเดียวกับปูทะเล ส่วนท้ายลำตัวมีลักษณะอ่อนนุ่มทำให้ต้องอาศัยอยู่ในเปลือกหอยเพื่อป้องกันตัวและให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย ปูเสฉวนบกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะจมน้ำตายได้ แต่จะต้องลงไปกินน้ำทะเลเพื่อรับแคลเซี่ยมและเกลือแร่ให้กับร่างกาย อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดเพื่อการอยู่รอดอีกด้วย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหารเหมือนปูเสฉวนทั่วไป และมักหากินในช่วงเวลากลางคืนมากกว่าช่วงเวลากลางวัน โดยช่วงเวลากลางวันมักหลบอยู่ตามใต้กองใบไม้ที่มีความชุ่มชื้น การจัดลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน Kingdom:                Animalia         Phylum:                  Arthropoda     Subphylum:            Crustacea Class:                     Malacostraca Order:                    Decapoda Family:                   Coenobitidae Genus:                   Coenobita Latreille, 1829 ในประเทศไทยพบอย่างน้อย 3 ชนิด (species) คือ            Coenobita brevimanus (ปูเสฉวนบกยักษ์)            Coenobita violascens  (ปูเสฉวนบกยักษ์)            Coenobita rugosus  (ปูเสฉวนบก) ลักษณะเฉพาะของปูเสฉวนบก           ลำตัวส่วนหน้าของปูเสฉวนบกปกคลุมด้วยเปลือกไคตินที่แข็งเหมือนปูทั่วไป ส่วนท้องมีลักษณะ​ที่ยาวและนุ่มกว่า ทำให้สามารถปรับช่วงท้องให้เข้ากับเปลือกหอยที่เป็นเกลียวได้ โดยใช้ขาคู่ที่สี่และห้ายึดเกาะกับผนังด้านในของเปลือกหอย​ไม่ให้หลุด โดยการเกร็งกล้ามเนื้อตามโครงสร้างของหอย           ก้ามขนาดใหญ่ด้านซ้ายใช้ในการป้องกันตัว จับปีนต้นไม้และทรงตัว และยังใช้เป็นฝาปิดเปลือกหอย […]

สัตว์เลี้ยงน่ารัก

ปูเสฉวนบก Hermit 

10/09/2022

ปูเสฉวนบก’ หรือ Land hermit crab เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในสกุล Coenobita กลุ่มเดียวกับปูและกุ้ง (Crustacea) ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 5 … มารู้จักปูเสฉวนบก           ปูเสฉวนบก อยู่ในสกุล Coenobita (มาจากคำในภาษาละตินว่า COENOBIVM และคำในภาษากรีกโบราณว่า κοινόβιον แปลว่า “ชีวิตในประชาคม, อาราม”) มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปูและกุ้ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 นิ้ว มีขาทั้งหมด 10 ขาเช่นเดียวกับปูทะเล ส่วนท้ายลำตัวมีลักษณะอ่อนนุ่มทำให้ต้องอาศัยอยู่ในเปลือกหอยเพื่อป้องกันตัวและให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย ปูเสฉวนบกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากระบบการหายใจถูกพัฒนาให้รับออกซิเจนโดยตรง ถ้าลงไปในน้ำจะจมน้ำตายได้ แต่จะต้องลงไปกินน้ำทะเลเพื่อรับแคลเซี่ยมและเกลือแร่ให้กับร่างกาย อีกทั้งยังต้องการน้ำจืดเพื่อการอยู่รอดอีกด้วย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหารเหมือนปูเสฉวนทั่วไป และมักหากินในช่วงเวลากลางคืนมากกว่าช่วงเวลากลางวัน โดยช่วงเวลากลางวันมักหลบอยู่ตามใต้กองใบไม้ที่มีความชุ่มชื้น การจัดลำดับชั้นทางอนุกรมวิธาน Kingdom:                Animalia         Phylum:                  Arthropoda     Subphylum:            Crustacea Class:                     Malacostraca Order:                    Decapoda Family:                   Coenobitidae Genus:                   Coenobita Latreille, 1829 ในประเทศไทยพบอย่างน้อย 3 ชนิด (species) คือ            Coenobita brevimanus (ปูเสฉวนบกยักษ์)            Coenobita violascens  (ปูเสฉวนบกยักษ์)            Coenobita rugosus  (ปูเสฉวนบก) ลักษณะเฉพาะของปูเสฉวนบก           ลำตัวส่วนหน้าของปูเสฉวนบกปกคลุมด้วยเปลือกไคตินที่แข็งเหมือนปูทั่วไป ส่วนท้องมีลักษณะ​ที่ยาวและนุ่มกว่า […]