ปลาเสือสุมาตรา (Sumatran Tiger Barb) 

ปลาเสือสุมาตรา Puntigrus tetrazona (Sumatran Tiger Barb)

ชีววิทยา
อยู่ในตระกูลปลาตะเพียนขนาดเล็ก ลําตัวมีแถบดําพาดขวางห้าแถบ สองแถบแรกพาดผ่านตา และหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่สี่พาดผ่านโคน ครีบก้านและลําตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่โคนหาง ครีบหลังและครีบก้านมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัยก้าวร้าว

วงจรชีวิต
ไข่ปลาเสือสุมาตราจะฟักออกมาเป็นตัวประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ลูกปลาแรกฟักจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ลักษณะรูปร่างลูกปลาแรกฟักจะมีเหมือนพ่อแม่พันธุ์


การสืบพันธุ์
ปลาเพศผู้จะมีสีสันสดสวย ปากแดง หางแดงครีบแดง ส่วนเพศเมียมีสีซีดกว่า แต่มีขนาดลําตัวใหญ่กว่า ขนาดของปลาที่พร้อมจะนํามาผสมพันธุ์ จะมีขนาดประมาณ ๓-๕ ซม. ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด สามารถวางไข่ได้ตลอดปี หลังจากแม่ปลาวางไข่แล้วประมาณ ๒๕ วัน จะสามารถทําการเพาะพันธุ์ได้อีก

อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก และเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย สามารถฝึกให้กินอาหารสําเร็จรูปได้


แหล่งที่อยู่อาศัย
เป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณหมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณแม่น้ำ ลําธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาค

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *