5 สายพันธุ์เต่าน่าเลี้ยงที่ดูแลง่าย

เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในหมวดหมู่ของสัตว์เลื้อยคลานแล้วถ้าจะไม่พูดถึงสัตว์เลี้ยงที่มีความตะมุตะมิคลานต้วมเตี้ยมอย่างเต่าก็เห็นจะไม่ได้ ด้วยความน่ารักและขนาดตัวที่เล็กในหลายสายพันธุ์จึงทำให้มีผู้คนอยู่ไม่น้อยเลยที่ชื่นชอบในความน่ารักของพวกมัน ซึ่งในบรรดาเต่าน่าเลี้ยงนั้นก็มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็น เต่าน้ำ เต่าบก เต่าภูเขา เต่าทะเล หรือแม้กระทั่งเต่านา ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยนิสัยของเต่าที่มีความแตกต่างกันแต่ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่ดูแลง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว และทนทานต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี โดยเต่าที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันเป็นจำนวนมากมักจะเป็นเต่าบก หรือไม่ก็เต่าภูเขาที่เลี้ยงดูง่ายที่สุด ซึ่งเราจะขอพูดถึงเต่า 5 สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ของคนเลี้ยงเต่าและเป็นเต่าที่เลี้ยงดูง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยากจะเลือกสายพันธุ์เต่าไปเลี้ยงดู

1.เต่าเรดฟุต (Chelonoidis carbonarius) 

1.เต่าเรดฟุต (Chelonoidis carbonarius) 

เป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งจากทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ เต่าขนาดกลางเหล่านี้โดยทั่วไปจะมีค่าเฉลี่ย 30 เซนติเมตร ในตัวโตเต็มวัยแต่สามารถโตถึงได้มากกว่า 40 เซนติเมตร พวกเขามี carapaces รูปก้อนสีเข้มในเปลือกหลัง ที่มีแพทช์ที่เบากว่าอยู่ตรงกลางของแต่ละเกล็ดบนเปลือก และแขนขาสีเข้มที่มีเกล็ดสีสดใสที่มีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีแดงเข้ม ความแตกต่างที่ได้รับการยอมรับจะเห็นได้ระหว่างเต่าเท้าแดงจากภูมิภาคต่างๆ พวกมันมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเต่าเท้าเหลืองจากลุ่มน้ำอเมซอน พวกมันถูกเลี้ยงไว้อย่างแพร่หลายในฐานะสัตว์เลี้ยง 

2. เต่าซูคาต้า (Centrochelys sulcata)

2. เต่าซูคาต้า (Centrochelys sulcata)

หรือที่เรียกว่าเต่าซัลคาตาเป็นเต่าสายพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในขอบด้านใต้ของทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกา มันเป็นเต่าสายพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกเต่าสายพันธุ์แผ่นดินใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสายพันธุ์เดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ในสกุล Centrochelys มีถิ่นกำเนิดในทะเลทรายซาฮาราและทะเลทรายซาเฮลซึ่งเป็นภูมิภาคเชิงนิเวศเฉพาะกาลของทุ่งหญ้ากึ่งแห้งแล้งทุ่งหญ้าสะวันนาและหนามที่พบในประเทศบูร์กินาฟาโซสาธารณรัฐแอฟริกากลางชาดเอริเทรีย เอธิโอเปีย มาลี มอริเตเนีย ไนจีเรีย เซเนกัล ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน เยเมน และอาจอยู่ใน โซมาเลีย แอลจีเรีย เบนิน และแคเมอรูน มันอาจจะถูกกําจัดออกจากจิบูตีและโตโก เต่าจะขุดโพรงในพื้นดินเพื่อไปยังพื้นที่ที่มีระดับความชื้นสูงขึ้น และใช้เวลาช่วงที่ร้อนที่สุดของวันในโพรงเหล่านี้สิ่งนี้เรียกว่า aestivation 

3.เต่าดาวอินเดีย (Geochelone elegans ) 

3.เต่าดาวอินเดีย (Geochelone elegans ) 

เป็นเต่าที่มีลักษณะพิเศษบนกระดองหลังของเต่าดาวอินเดียจะเป็นรูปโดมสูง ซึ่งจะความชันของด้านข้างกระดองจะตั้งสูงเกือบจะเป็นแนวตั้ง แผ่นเกล็ดแต่ละแผ่นจะมีตั้งแต่เป็นแผ่นเรียบ หรือมีแผ่นที่ยกสูงเป็นแบบพีรามิด ในแต่ละเกล็ดตรงกลางสีเหลือง และมีเส้นสีเหลืองหรือน้ำตาลที่กระจายออกเป็นเหมือนเส้นรังสี ซึ่งจะสร้างลวดลายที่เป็นที่มาของชื่อว่าเต่าดาว สีพื้นของเกล็ดกระดองสีน้ำตาลหรือดำ โดยมีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปเอเชียในประเทศอินเดียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเต่าบกซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในทวีปต่างๆ ทั่วโลก

4.เต่าเรียวผาด (Geochelone yniphora)

4.เต่าเรียวผาด (Geochelone yniphora)

เต่าชนิดนี้จัดว่าเป็นเต่าขนาดใหญ่ ตัวผู้จะมีขนาดเต็มที่ประมาณ 45 เซนติเมตร และตัวเมีย ขนาด 15 ประมาณ 38 เซนติเมตร เต่าชนิดนี้จะมีกระดองสูงกลมขึ้นมามากกว่าเต่าชนิดอื่นๆ ลักษณะโดยทั่วไปตรงขอบด้านข้างของกระดอง จะยังคงมีลายสามเหลี่ยมสีเข้มๆ ชี้ขึ้นข้างบน โดยที่ฐานของสามเหลี่ยมมันจะชนกันทำให้ส่วน ล่างของขอบกระดองด้านข้างเป็นสีดำ เต่าชนิดนี้จะกินผักเป็นหลัก ในธรรมชาติเต่ายูนิฟลอร่าจะเลือกกินใบไม้ legume Bauhinia ซึ่งใบไม้ชนิดนี้จะเป็นอาหารหลักถึง 90% ของเต่าชนิดนี้ อีก 10% ที่เหลือจะเป็นหญ้า

5.เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) 

5.เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) 

เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ จัดเป็นชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอย, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่าเต่าญี่ปุ่น ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้กระทั่งลูกเป็ดขนาดเล็กที่กำลังว่ายน้ำอยู่ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *