Scottish Fold

สกอตติชโฟลด์ (Scottish Fold) 

06/15/2023

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ สกอตติช โฟลด์ ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์ จากคนเลี้ยงแกะที่ชื่อนาย “วิลเลี่ยม รอส” ในปีค.ศ. 1961 โดยนายวิลเลี่ยมพบแมวตัวหนึ่งในโรงนาของเพื่อนบ้านที่มีลักษณะหูพับและมีสีขาวทั้งตัวโดยบังเอิญ ซึ่งแมวตัวนี้เป็นของเพื่อนบ้านของเขาที่ชื่อว่า “ซูซี่” นายวิลเลี่ยมสนใจซูซี่เป็นอย่างมาก เมื่อซูซี่ได้ให้กำเนิดลูกแมวน้อยที่มีลักษณะหูพับเหมือนกัน นายวิลเลี่ยมจึงขอซื้อจากเจ้าของ แล้วนำมาเลี้ยงที่บ้าน โดยตั้งชื่อแมวที่เป็นลูกของซูซี่นี้ว่า “สนู๊กส์” เมื่อโตขึ้นนายวิลเลี่ยมจึงนำมาผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ บริติช ชอร์ตแฮร์ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ จากนั้นก็เริ่มมีคนสนใจนำแมวที่มีลักษณะหูพับนี้ไปปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่งในปี 1966 ก็ได้มีการตั้งชื่อแมวหูพับนี้ว่า สกอตติช โฟลด์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับสถานที่ที่กำเนิดแมวสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สกอตติช โฟลด์ เป็นแมวขนาดกลาง รูปร่างกะทัดรัด รูปร่างกลม เพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 2.5-4 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 5.8 กิโลกรัม มีจุดเด่นที่ใบหูพับลงไปข้างหน้า และพับลงต่ำ อีกทั้งขนาดของใบหูมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีดวงตาที่กลมโตคล้ายนกฮูก หัวค่อนข้างกลม ช่วงคอสั้น และมีจมูกสันโค้งกว้างรับกับดวงตา ซึ่งบางตัวมีปากโค้งได้รูปรับกับคางพอดี จึงเป็นที่มาของ Smiling […]

Pembroke Welsh Corgi

พ็อมโบรค เวลช์ คอร์กี้ (Pembroke Welsh Corgi)  

06/05/2023

ข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ และลักษณะนิสัย พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเรื่องของความฉลาด ห้าวหาญ และกระตือรือล้น เข้มแข็งและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุนัขพันธุ์ ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์พ็อมโบรค เวล์ช คอร์กี้ คำว่า ” คอร์กี้” มีความหมายหลากหลายแตกต่างกัน ในกลุ่มภาษาเคลติก (Celtic) หมายถึง สุนัข หรือ “คอร์” (Cor ) หมายถึง แคระ และ “กี้” (gi) หมายถึงสุนัข  ขนาด: น้ำหนัก: เพศผู้: 26 – 28 ปอนด์ เพศเมีย: 24 – 26 ปอนด์ ความสูง:  เพศผู้: 12 นิ้ว เพศเมีย: 10 นิ้ว ลักษณะ:  หลังยาว ช่วงขาสั้น หูตั้งชัน […]

Sumatran Tiger Barb

ปลาเสือสุมาตรา (Sumatran Tiger Barb) 

05/31/2023

ปลาเสือสุมาตรา Puntigrus tetrazona (Sumatran Tiger Barb) ชีววิทยาอยู่ในตระกูลปลาตะเพียนขนาดเล็ก ลําตัวมีแถบดําพาดขวางห้าแถบ สองแถบแรกพาดผ่านตา และหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่สี่พาดผ่านโคน ครีบก้านและลําตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่โคนหาง ครีบหลังและครีบก้านมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ พฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง นิสัยก้าวร้าว วงจรชีวิตไข่ปลาเสือสุมาตราจะฟักออกมาเป็นตัวประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ลูกปลาแรกฟักจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ลักษณะรูปร่างลูกปลาแรกฟักจะมีเหมือนพ่อแม่พันธุ์ การสืบพันธุ์ปลาเพศผู้จะมีสีสันสดสวย ปากแดง หางแดงครีบแดง ส่วนเพศเมียมีสีซีดกว่า แต่มีขนาดลําตัวใหญ่กว่า ขนาดของปลาที่พร้อมจะนํามาผสมพันธุ์ จะมีขนาดประมาณ ๓-๕ ซม. ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด สามารถวางไข่ได้ตลอดปี หลังจากแม่ปลาวางไข่แล้วประมาณ ๒๕ วัน จะสามารถทําการเพาะพันธุ์ได้อีก อาหารกินลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก และเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย สามารถฝึกให้กินอาหารสําเร็จรูปได้ แหล่งที่อยู่อาศัยเป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณหมู่เกาะสุมาตรา บอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณแม่น้ำ ลําธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาค

maxresdefault

นกแก้วแดร็กคูล่า (Dracula parrot)

05/30/2023

มาทำความรู้จักกับ “นกแก้ว แดร๊กคูล่า” ที่หลายคนไม่รู้ว่ามีอยู่จริง มันได้ชื่อว่านกแก้วแดร็กคูล่า (Dracula parrot) เพราะขนสีดำและสีแดงเป็นมันเหมือนเสื้อคลุมของเค้าท์แดร็กคูล่า แวมไพร์ผู้เป็นอมตะในตำนาน สีขนของมันสะดุดตาผู้ที่พบเห็นมากจนไม่คิดว่ามันเหมือนนกแก้ว อันที่จริงแล้วเมื่อมองดูใกล้ๆ ส่วนศีรษะของมันดูคล้ายกับแร้งมากกว่า ดังนั้นมันจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่านกแก้วแร้ง (Vulturine parrot) นกแก้วแดร็กคูล่ามีถิ่นอาศัยอยู่ตามเนินเขาและป่าดิบชื้นบนภูเขาสูง 600 – 1,500 เมตรใจกลางเกาะนิวกินี มีน้ำหนักตัวถึง 800 กรัมถือว่าหนักมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในหมู่นกแก้ว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 20 ตัว แต่เราไม่ค่อยรู้ว่ามันสืบพันธุ์อย่างไร มันชอบกินผลไม้เป็นอาหารโดยเฉพาะมะเดื่อ 3 สายพันธุ์ รวมถึงดอกไม้ และน้ำหวานในพืช มันถือเป็นนกแก้วพันธุ์เดียวที่เป็นพวกกินผลไม้ หรือ Frugivore ต่างจากนกแก้วส่วนใหญ่ที่กินเมล็ดพืชหรือธัญญาหารเป็นหลัก แถมพวกมันยังตัวใหญ่อย่างน่าไม่น่าเชื่อว่าจะกินแค่ผลไม้เท่านั้น วิธีการกินผลไม้ของมันก็ประหลาดมาก มันจะใช้จะงอยปากที่เหมือนนกแร้งฉีกเเปลือกของผลไม้ออกมา จากนั้นจะสอดหัวเข้าไปในผลไม้แล้วใช้ลิ้นตวัดเอาเนื้อเข้าปาก นี่คงเป็นสาเหตุที่มีจะงอยปากเหมือนนกแร้ง และยังมีหัวที่ล้านเลี่ยนไม่มีขนเหมือนนกแร้ง เพื่อที่ขนบนหัวจะได้ไม่ติดกับเนื้อผลไม้ตอนที่มันซุกเข้าไปกิน นกแก้วแดร็กคูล่ายังไม่ถึงกับใกล้สูญพันธุ์ เมื่อ 10 ปีก่อนมีรายงานว่าเหลือประมาณ 10,000 ตัว แต่ถ้าปล่อยให้มันอยู่ไปตามยถากรรมแบบนี้มันเสี่ยงที่จะหมดไปจากโลกแน่ๆ เพราะนักนิยมนกที่สั่งล่ามันเอาไปเลี้ยงไว้ดูเล่น รวมถึงถิ่นอาศัยที่ถูกทำลายเพราะมนุษย์ ตอนนี้จำนวนของมันเหลือน้อยมากแล้ว แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ เพราะขนของมันมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมาก […]

idols-coast-Great-Barrier-Reef-Australia-Queensland

ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol)

05/29/2023

ชื่อสามัญภาษาไทย โนรีเทวรูป/ ผีเสื้อเทวรูป/ปลาผีเสื้อหนังหรือ/ปลาโนรีหนัง ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ  Moorish idol ชื่อวิทยาศาสตร์   Zanclus cornutus วงจรชีวิต ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่ามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามันในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกาหากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ แหล่งที่อยู่อาศัย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามันในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกาหากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป […]

Cherry barb

แนวทางการเลี้ยง ปลาเชอร์รี่บาร์บ  (Cherry barb)

05/24/2023

 ปลาในสกุล ปลาบาร์บ หรือ ปลาที่เป็นสกุลเดียวกับปลาตะเพียนนั้น มีหลากหลายชนิด ตั้งแต่ปลาขนาดค่อนข้างใหญ่ และ ปลาขนาดเล็กจิ๋ว อย่างเจ้า เชอร์รี่บาร์บนี่ ต่างก็ล้วนมีเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ชวนให้ผู้คนหลงใหล และ เสาะหามาเป็นสัตว์น้ำประจำตู้ของตัวเองครับ  ปลาเชอร์รี่ บาร์บนี้นั้น มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ อยู่ในประเทศศรีลังกา มีความว่องไวปราดเปรียวและมีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง      ปลาเชอร์รี่ บาร์บ เป็นปลาขนาดเล็ก แต่เหมาะสำหรับ ผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลาใหม่ๆ เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่เรื่องมากในเรื่องของค่าน้ำต่างๆ สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพน้ำที่มีความเป็นกรด เป็นด่างต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ใช่เป็นน้ำเน่าเสียนะ….ขอให้เป็นน้ำที่สะอาด จะมีค่าความเป็นกรด – ด่าง สูง หรือ ต่ำกว่ามาตรฐานนิดหน่อย ก็ไม่มีปัญหาอะไรในการดำรงชีวิต ทางด้านซ้าย จะเป็นปลาเชอร์รี่บาร์บตัวเมีย ซึ่งสีจะอ่อนกว่าตัวผู้ครับ    ปลาเชอร์รี่บาร์บ จัดว่าเป็นปลาที่มีความรักสงบ ไม่เกะกะระรานใคร ดังนั้น จึงสามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงๆ กับ ปลาเล็กๆด้วยกัน ไม่ว่าจะมาจากลุ่มแม่น้ำใดก็ตาม จะลุ่มแม่น้ำคงคา ปลาจำพวกบาร์บเหมือนกัน, จากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 1 , […]

Blue Face Angelfish

ปลาสินสมุทรแว่นเหลือง Blue Face Angelfish

05/23/2023

ในตระกูลแองเจิลสายพันธุ์นี้มีสีสันมากที่สุดและมีหลายเฉดสีน้ำเงินและสีเหลืองโดยมีใบหน้าเป็นสีน้ำเงินตามชื่อ ปลาเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณน้ำตื้นและขนาดของพวกมันก็ถือว่าค่อนข้างใหญ่ในบรรดาปลาทะเลด้วยความยาว 35 เซนติเมตร ปลาที่สวยงามเหล่านี้มีอายุการใช้งานยาวนานเป็นพิเศษประมาณ 10 ปีและถือว่ามีอารมณ์ดีและน่าพอใจ ดังนั้นจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในประเทศด้วย ชื่อไทย: บลูเฟซ, สินสมุทรแว่นเหลือง, สินสมุทรหน้ากากเหลือง ชื่อสามัญ: Blue-Face Angelfish, Yellow Mask Angelfish, Yellow-Face Angelfish ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacanthus xanthometopon (Bleeker, 1853) เขตการกระจายพันธุ์: มีการแพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตอินโด-แปซิฟิก ไปจนจรดทวีปออสเตรเลีย ขนาด: โตเต็มที่ราว 40 ซม. (15 นิ้ว) อุปนิสัย: เป็นปลาที่ค่อนข้างขี้อายและตื่นตกใจง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ แต่เมื่อปรับตัวได้แล้วก็จะค่อนข้างก้าวร้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาในกลุ่มเดียวกันเอง กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งอาหารสด และสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ไม่ยากนัก ควรใส่ลงไปในตู้เป็นตัวหลังๆ เพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งกับปลาตัวอื่นๆที่มี

Lionfish

ปลาสิงโต หรือ Lionfish 

05/22/2023

ชื่อภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น Lionfish, Turkeyfish, Firefish, Butterfly-cod เป็นปลาทะเลในครอบครัว (family Scorpaenidae) ภาพที่1.ปลาสิงโตปีกจุด Red lionfish (Pterois volitans) ปลาสิงโตมีลำตัวยาวปานกลางแบนข้างเล็กน้อยมีหัวขนาดใหญ่ ลำตัวและหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้มสลับกับสีน้ำตาลอ่อนและสีขาว ชื่อปลาสิงโตอาจจะมาจากครีบอกและครีบหลังที่แผ่ออกซึ่งแล้วคล้ายกับแผงคอของสิงโต แต่ครีบที่แผ่ออกมาแต่ละครีบนั้นประกอบด้วยก้านครีบที่เป็นหนามและมีต่อมพิษที่ก้านครีบแข็งทุกก้านและมีต่อมพิษจำนวนมากอยู่ใต้ผิวหนัง ดูหนังชนโรง ภาพที่2. ใบหน้าปลาสิงโต โดยทั่วไปมักพบปลาสิงโตว่ายน้ำช้าๆตามแนวปะการัง กองหินหรือตามเสาสะพานท่าเทียบเรือ ซึ่งการที่มันว่ายน้ำช้าทำให้นักดำน้ำมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์บางคนพยายามจับปลาสิงโตด้วยมือเปล่า ซึ่งจะเขาได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากหนามพิษของปลาสิงโต พิษของปลาสิงโตเป็นสารประกอบโปรตีนเมื่อแทงเข้าไปในร่างการจะทำให้ผู้ถูกพิษมีอาการปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก บางรายอาจมีอาการคอแห้ง ซึมเพ้อ ปวดเมื่อยตามข้อ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการอัมพาตชั่วคราว หรืออาจเสียชีวิตได้ ภาพที่3.ปลาสิงโต วิธีแก้ไขเมื่อถูกพิษจากหนามของปลาสิงโต แช่แผลในน้ำร้อนที่พอทนได้ประมาณ 30-60 นาที อาการปวดจะทุเลาลง หากมีอาการรุนแรงให้รีบนำส่งแพทย์          ภาพที่4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกพิษจากปลาสิงโต           เนื่องจากปลาสิงโตเป็นปลาที่มีพิษซึ่งอาจทำอันตรายต่อนักดำน้ำหรือคนเลี้ยงปลาได้ ดังนั้นในบางประเทศเช่น ประเทศเยอรมันนีจึงออกกฎหมายป้องกันคนเลี้ยงปลาโดยกำหนดให้สถานที่ที่เลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องมีเซรุ่มแก้พิษปลาสิงโตเก็บไว้อย่างน้อย 2 หลอด ปลาสิงโตโดยปกติแล้วพบแพร่กระจายในน่านน้ำเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิกกินกุ้งและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ปัจจุบันพบว่าปลาสิงโตถูกพบในทะเลแคริเบียน มหาสมุทรแอตแลนติกแถบอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะปลาสิงโตปีกจุด Red […]

Violet-backed Starling

นกสตาร์ลิ่งปีกม่วง (Violet-backed Starling)

05/20/2023

 บทความก็พบว่าธรรมชาตินั้นได้สรรสร้างความงดงามมากมายทั้งที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น ซึ่งความงดงามเหล่านี้หาชมได้ง่ายๆ ทั่วไปตามธรรมชาติ      วันนี้แอดมินก็มีความงดงามของนกชนิดหนึ่ง ที่มีสีสันสดสวยงดงามมาก นกชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า นกสตาร์ลิ่งปีกม่วง (Violet-backed Starling) เป็นนกในแถบยุโรป แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของนกชนิดนี้คือ ขนสีม่วงที่งดงามตระการตา     นกชนิดนี้ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ใน “ทะเลทรายซาฮารา” (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และในป่าแอฟริกันและป่าสะวันนา นกชนิดนี้จะกินอาหารเหมือนนกธรรมดาทั่วไป และพวกมันไม่ใช่สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ มันเป็นนก Violet-backed Starling ในแถบยุโรปชนิดหนึ่ง นกชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำตาลหรือสีที่ดูมืดเยือกเย็น แต่ทว่านกชนิดนี้กลับแตกต่างออกไป เพราะมันมีสีสันที่สะดุดตามาก    ปีกของนกชนิดนี้จะมีสีม่วงอบรุ้ง ส่วนบริเวณท้องจะเป็นสีขาวนวล เมื่อปีกสีม่วงถูกแสงอาทิตย์มากระทบจะเห็นเป็นสีม่วงอมชมพูเข้มสดใส แลดูเหมือนอัญมณีสีม่วงอันล้ำค่า ในขณะเดียวกันตัวเมียจะมีสีน้ำตาล ซึ่งแตกต่างจากตัวผู้มาก      นกสตาร์ลิ่งตัวเมีย ในระหว่างการผสมพันธุ์ตัวเมียจะฟักไข่ 2-4 ฟอง (เป็นสีฟ้าซีดมีจุดสีแดง / น้ำตาล) เป็นเวลา 12-14 วัน หลังจากนั้นตัวผู้จะช่วยเลี้ยงลูกนกอีก 21 วัน     แต่ทว่านกชนิดนี้ไม่มีน้ำใจ เพราะอะไรหรอ? ก็เพราะว่าเมื่อนกชนิดนี้ไม่มีอาหารกินก็จะไปขโมยกินตัวอ่อนในรังของนกตัวอื่นๆ หรือแม้กระทั่งมักจะใช้ความคิดในการโจมตีรังของนกตัวอื่น ๆ เพื่อขโมยวัสดุทำรังของอีกฝ่ายมาสร้างรังให้ตนเอง!     นี่แหละนะคือวัฏจักรของสัตว์บนโลกใบนี้ นกชนิดนี้ค่อนข้างมีความมั่นใจสูง ไม่เกรงกลัวอะไรง่ายๆ มุ่งมั่น ไม่ค่อยชอบบินลงมาเดินที่พื้นดิน     เป็นนกอพยพผ่านเข้ามาในฤดูหนาว และนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ […]

Resplendent quetzal

นกขุนแผนมรกต (Resplendent quetzal)

05/18/2023

นกขุนแผนมรกต (Resplendent quetzal) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pharomachrus mocinno พบได้บริเวณป่าเมฆในรัฐเชียปัส (Chiapas) ประเทศเม็กซิโก ไปจนถึงทางตะวันตกของประเทศปานามา ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ P. m. mocinno และ P. m. costaricensis บริเวณลำตัวมีขนสีเขียวและหน้าอกสีแดง ซึ่งสะท้อนแสงออกมาเป็นสีเขียวหลายโทน ทั้งเขียวเข้ม เขียวอ่อน เหลือง น้ำเงิน ไปจนถึงม่วง มีขนาดไม่ใหญ่มาก ยาว 36-40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 210 กรัม ผิวบางและเป็นแผลง่าย จึงพัฒนาขนให้หนาขึ้น ผลไม้เป็นอาหารหลักที่นกขุนแผนมรกตชื่นชอบเป็นพิเศษ แม้บางครั้งจะกินแมลงบ้างก็ตาม โดยเฉพาะอาโวคาโดป่าและผลไม้ในวงศ์อบเชย โดยพวกมันจะกลืนลงไปทั้งหมด ก่อนจะคายเมล็ดออกมา ซึ่งเป็นการช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ออกไป ในตำนานของเมโสอเมริกา นกขุนแผนมรกตเป็นสัตว์ที่สำคัญ พวกเขานับถือในฐานะเทพเจ้างู Quetzalcoatl ปัจจุบันเป็นนกประจำชาติของกัวเตมาลา และยังมีรูปนกขุนแผนมรกตบนธงและตราประจำชาติอีกด้วย